ในโลกแห่งเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วราวกับการกดแป้นพิมพ์ ลองพิจารณาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา สมาร์ทโฟนได้เปลี่ยนจากอุปกรณ์ “ที่ควรมีไว้ครอบครอง” ไปเป็นอุปกรณ์ “ที่ขาดไม่ได้” สื่อดิจิทัลกลายเป็นกระแสหลักและอุปกรณ์อัจฉริยะค่อยๆ เข้ามาในบ้านของเรา หากคุณเป็นผู้บริโภคในกลุ่มเจเนอเรชัน Z อายุ 18-24 ปีหรือกลุ่มมิลเลนเนียลที่อายุน้อยกว่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นของคุณ แล้ววัยผู้ใหญ่ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการฟังวิทยุของกลุ่มนี้ไปอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นสื่อที่มีการเข้าถึงระดับประเทศมากที่สุด
ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 2011 ผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง 12-17 ปี ใช้เวลาเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 15 นาทีในการฟังวิทยุในแต่ละสัปดาห์ ไม่ใช่วิทยุอินเทอร์เน็ต ไม่ใช่วิทยุผ่านดาวเทียม แต่เป็นวิทยุ AM/FM ธรรมดาๆ นั่นเอง เมื่อเวลาผ่านไป 6 ปี ผู้บริโภคกลุ่มเดียวกันนี้ (ซึ่งตอนนี้มีอายุระหว่าง 18-24 ปี) ใช้เวลาเฉลี่ย 10 ชั่วโมง 15 นาทีในการฟังวิทยุในแต่ละสัปดาห์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อวัยรุ่นโตขึ้น พวกเขาจะใช้เวลาฟังวิทยุมากขึ้น
มันจะเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร?
การจ้างงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในกลุ่มอายุเหล่านี้ เนื่องจากผู้ฟังวิทยุส่วนใหญ่มักเป็นชาวอเมริกันที่ทำงานและเปิดฟังวิทยุเมื่อไม่อยู่บ้าน เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลในปี 2011 ซึ่งผู้ฟังวิทยุที่มีอายุระหว่าง 12-17 ปีเพียง 5% เท่านั้นที่ทำงาน (ทั้งแบบเต็มเวลาและแบบพาร์ทไทม์) จะเห็นได้ชัดว่าเหตุใดการใช้งานวิทยุจึงเพิ่มขึ้นตามวัยที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบัน ผู้ฟังที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปีเหล่านี้มีงานทำถึง 64% ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในรถเพื่อเดินทางไปกลับที่ทำงานมากขึ้นหรือฟังวิทยุเป็นเพื่อนตลอดทั้งวันทำงาน ผู้ที่ทำงานมีโอกาสได้ใช้เวลากับสถานีวิทยุที่พวกเขาชื่นชอบมากขึ้น
และตาม รายงาน Nielsen Total Audience Report ประจำไตรมาสแรกของปี 2017 พบว่าวิทยุเข้าถึงกลุ่ม Generation Z ร้อยละ 88 และกลุ่ม Millennials ร้อยละ 93 ในแต่ละสัปดาห์ ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนเวลาที่ใช้ในการฟังวิทยุในแต่ละวันยังเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มคนรุ่นเยาว์กับกลุ่มคนรุ่นใหญ่ โดยกลุ่ม Millennials ใช้เวลาในการฟังวิทยุมากกว่ากลุ่ม Generation Z ประมาณ 30 นาทีในแต่ละวัน
เมื่อเราพิจารณาถึงวิธีที่คนรุ่น Z และคนรุ่นมิลเลนเนียลรุ่นน้องโต้ตอบกับสื่อ เรามักจะสรุปได้ง่ายๆ ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้รวมถึงสื่อแบบดั้งเดิมควบคู่ไปกับสื่อรูปแบบใหม่ นั่นคือจุดที่ข้อมูลสามารถช่วยแยกแยะความเป็นจริงออกจากการคาดเดาได้